วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

FTTH ไฟเบอร์ทูเดย์โฮฒ

โดยส่วนตัวผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบ Fiberoptic คือระบบสื่อสารผ่านเส้นใยแสง สมัยเรียนปริญญาเอกก็จะเน้นไปที่ระบบทางไกล เช่น โยงใต้ทะเลเป็นหลายพันกิโลเมตร ว่าจะทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้ยังไง หรือถ้ากำหนดความเร็วแล้วจะทำให้มันไปได้ไกลขึ้นได้อย่างไร แต่พอเข้ามาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ก็ได้ศึกษาและทำการวิจัยในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่โครงข่ายระดับ Fiber-optic ใหญ่เชื่อมโยงระหว่างเมืองจนถึงระดับ Access ซึ่งหนึ่งในโครงข่าย Fiber-optic ระดับ Access ที่ให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่มีในปัจจุบันนั่นก็คือ Fiber to the Home (FTTH)
  • เทคโนโลยีที่เรียกว่า Fiber to the Home นี้มีความสำคัญอย่างไร
  • “ปัจจุบันที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือใช้อินเตอร์เน็ต ก็เป็นการใช้ผ่านระบบสื่อสาร แต่ระบบของแต่ละอันก็แยกจากกัน ซึ่งข้อมูลแต่ละระบบก็มีความแตกต่างกัน แต่ในอนาคตเราจะพยายามโยงทุกระบบให้มาอยู่ในลักษณะข้อมูลเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ต จะมาอยู่ในรูปแบบข้อมูลของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกัน เช่น Voice over IP IPTV และโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 (Mobile IP) เป็นต้น”

    “นอกจากบริการที่เราเห็นกันทั่วไปแล้ว ในอนาคตเราพยายามจะทำให้ระบบทุกอย่าง เครื่องมือทุกอย่าง อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยตัวมันเอง เช่น บ้านเราอาจจะติดเซนเซอร์ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ขอบประตู เก้าอี้ ตู้เย็น ฯลฯ ก็จะสามารถสื่อสารข้อมูลได้ เช่นเราอยู่นอกบ้านเราสามารถดูผ่านมือถือได้ว่าหน้าต่างบานนั้นล๊อคหรือยัง สามารถตรวจสอบได้หมด นั่นคือจากบ้านเราสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วส่งข้อมูลมา เข้ามือถือเรา หรือสั่งอัดวีดีโอผ่านมือถือได้ หรือเช็คของในตู้เย็นได้เช่น นมหรือไข่หมดหรือยังเป็นต้น”

    “เมื่อทุกอย่างสามารถสื่อสารข้อมูลได้ โครงข่ายหรือระบบสื่อสารที่ใช้ต้องรับข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างปัจจุบันแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียวเรายังรู้สึกว่าระบบช้า ถ้าเกิดทุกอย่างสื่อสารหมดแม้แต่ประตูหน้าต่างก็สามารถส่งข้อมูลได้ก็จะยิ่ง มีปริมาณข้อมูลมหาศาล โครงข่ายที่ใช้ต้องรองรับข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นได้ ซึ่งระบบที่จะสามารถรองรับได้ก็คงต้องเป็นระบบเส้นใยแสงหรือ Fiber-optic ซึ่งปัจจุบันก็นำมาใช้กันแล้วอย่างโครงข่ายใต้ทะเล รวมทั้งโครงข่ายในเมืองก็เป็น Fiber-optic ดังนั้นในการที่จะให้ข้อมูลสื่อสารออกจากบ้านได้ทุกคน และมีความเร็วสูงตามที่ต้องการ ต้องมีตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว ดังนั้นจึงพยายามโยงเส้นใยแสงให้มาใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของ Fiber to the Home นั่นเอง”

    การศึกษาขั้นบุกเบิกของระบบ FTTH ในบริเวณกรุงเทพมหานคร (CAT)

  • Fiber to the Home คืออะไรและมีประสิทธิภาพมากเพียงไร
  • “Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”

  • ในปัจจุบันเริ่มมีผู้หันมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้รายใหญ่คือประเทศญี่ปุ่น
  • “ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำระบบนี้มา ใช้มากที่สุด คือเริ่มนำ Fiber to the Home มาทำเป็นระบบเชิงพาณิชย์ประมาณปี 2001 หรือ 2002 ปัจจุบันมีเกือบ 10 ล้านครัวเรือนที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ และราคาถ้าเทียบกับ ADSL ก็น่าจะแพงกว่าประมาณ 30% แต่ถ้าเทียบกับความเร็วที่ได้จะต่างกันเยอะมาก ส่วนอเมริกานั้นเนื่องจากนิยมใช้เคเบิลทีวีกันแพร่หลาย ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลอินเตอร์เน็ตจะผ่านระบบเคเบิลทีวี ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ส่วนเกาหลี จีน ก็เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น”

  • สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการริเริ่มระบบนี้กันบ้างแล้ว แต่ไม่เป็นการแพร่หลายมากนัก
  • “สำหรับประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังไม่บูมมาก จุดแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท Fiber to the Home ซึ่งเช่าสายเส้นใยแสงจากจากไฟฟ้า ให้บริการแถบสุขุมวิท สาธร ในความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วในมาตรฐานเก่าของ Fiber to the Home และยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายมากนัก แต่มีแนวโน้มจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทางการไฟฟ้าทั้ง 3 ภาคส่วนเองเริ่มสนใจที่จะนำมาใช้โดยกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนว่าการไฟฟ้า จะทำเองหรือจะให้บริษัทเอกชนรายไหนมาเช่าไปดำเนินการ ซึ่งผมก็เคยรับงานบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาศึกษาอยู่”

    “อย่างบริษัท CAT นี่ผมก็ไปทำการศึกษาออกแบบลงพื้นที่นำร่องให้เมื่อปีที่แล้วว่าถ้าจะทำใน กรุงเทพฯ ต้องลงทุนประมาณเท่าไร ตกถึงผู้ใช้บริการแล้วต้องจ่ายค่าใช้บริการเดือนละเท่าไร ซึ่งทางบริษัทก็สนใจพอสมควร เพราะอย่างไรก็ตามคาดว่าเทคโนโลยีนี้ต้องมาแทน ADSL อย่างแน่นอน ส่วน ToT นี่ทดลองวางจริงเลย โดยทำที่ภูเก็ตคาดว่าปีนี้จะลองให้บริการจริงเป็นพื้นที่นำร่อง และหน่วยวิจัยของ ToT ก็มีการซื้อชุดทดลองระบบ Fiber to the home นี้มาและวางแผนทำการทดลองว่าจะสามารถพัฒนาอะไรต่อได้บ้าง”

  • ระบบ Fiber to the Home จะเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยได้อย่างไร
  • “ถ้าจะทำให้ประเทศเรานิยมใช้ Fiber to the Home อย่างประเทศญี่ปุ่นนี่ ต้องผลักดันจากผู้ใช้งาน อย่างประเทศญี่ปุ่นจะมีโฆษณาว่าสามารถสั่ง VDO on Demand ได้ โดยต้องใช้ระบบ FTTH คนก็จะนิยมกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีของละเมิดลิขสิทธิ์ การไปเช่าวิดีโอมาดูจึงราคาแพงพอสมควร ดังนั้นจึงต้องดูว่าประเทศเราควรจะผลักดันบริการส่วนไหนจึงจะทำให้คนใน ประเทศมีความสนใจระบบนี้มากขึ้น พอคนสนใจบริการนั้นๆ เค้าก็จะเรียนรู้ว่าต้องใช้ระบบ FTTH จึงจะใช้บริการนั้นได้ ระบบนี้ก็จะมีคนสนใจและได้รับความนิยมขึ้นมา เช่นคนไทยอาจจะสนใจ HDTV (High Definition TV) คือทีวีที่มีความชัดมากๆ ซึ่งถ้าจะส่งผ่านสายเคเบิลธรรมดานี่เป็นเรื่องยาก ส่งผ่าน ADSL นี่แทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราอาจโปรโมต HDTV เมื่อคนสนใจก็จะมีการใช้ Fiber to the Home แพร่หลายขึ้น และอีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าคนน่าจะสนใจกันมากคือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งถ้าผ่านระบบ Fiber to the Home จะมีความเร็วสูงมาก การ Download ต่างๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น”

  • ประโยชน์ของ Fiber to the Home นอกจากจะเกิดกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปแล้ว ยังยังสามารถช่วยพัฒนาบริการทั้งหลายที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศได้ อีกด้วย
  • “อย่างเช่น การแพทย์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (Telemedicine) คือ เราอยู่ส่วนหนึ่งของประเทศเราสามารถปรึกษาแพทย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของประเทศ ได้ โดยการส่งรูป ส่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ ทั้งหลายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไปปรึกษาแพทย์แบบ Real time ได้ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดทางไกลที่ว่าต้องมีการควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งต้องใช้ข้อมูลสื่อสารแบบ Real timeในการดำเนินงานจำนวนมหาศาล หรือพวก E-education คือคนสอนอยู่อีกที่หนึ่งคนเรียนอยู่อีกที่หนึ่ง สอนโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้การสื่อสารข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นกัน ซึ่งถ้าระบบนี้มีการแพร่หลายและเชื่อมโยงไปทั่วทุกที่ก็จะช่วยในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชากร และพัฒนาประเทศได้”

    “นอกจากนั้นยังช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือเมื่อใช้ระบบ Fiber to the Home ก็มีความต้องใช้ Modem สำหรับ Fiber to the Home โดยเฉพาะเพื่อแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ซึ่งเมื่อมีการใช้แพร่หลายและเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องใช้ค่าใช้ จ่ายสูงเนื่องจากมีราคาแพง ถ้าเราสามารถผลิตเองได้ในประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศ ก็จะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้”

  • และอาจารย์ก็ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยจะต้องได้รู้จักและหันมาใช้ระบบ Fiber to the Home ในเร็ววันนี้แน่นอน
  • “สำหรับระบบ Fiber to the Home นี้คิดว่าจะแพร่หลายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยในกรุงเทพมหานครนี้คิดว่าคงจะแพร่หลายกันในระยะเวลาประมาณ 3 ปีนี้อย่างแน่นอน”

  • นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังได้ทำการวิจัยในส่วนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
  • “อย่างที่ได้กล่าวว่าจริงๆ ผมศึกษามาทางด้านการเชื่อมโยงระบบทางไกลเป็นพันๆ กิโลเมตร แต่เมื่อมาทำงานก็เน้นไปที่การโยงเครือข่ายจากบ้านไปยังชุมสายอย่าง Fiber to the Home รวมทั้งเน็ตเวิร์คซึ่งเป็นโครงข่ายในระดับเมือง นอกจากนั้นยังพัฒนาในส่วนที่เรียกว่า All optical signal processing หมายความว่าการประมวลผลสัญญาณในรูปแบบของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้ามายุ่ง ปกติตัวสัญญาณข้อมูลแสงนั้นทำให้มันช้า มันหยุด หรือจับใส่ฮาร์ดดิสก์เหมือนข้อมูลในรูปแบบของทางไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมทำคือทำการศึกษาว่าทำอย่างไรจะทำให้แสงมันช้า หรือจะหยุดเวลาของแสงได้อย่างไร หรือว่าทำอย่างไรจะแปลงความยาวคลื่นของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลย นี่คือสิ่งที่กลุ่มของผมทำการวิจัยอยู่ด้วย”

  • นอกจากนั้นอาจารย์ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยทางด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
  • “นอกจากทำในเรื่องพวกนี้แล้วผมยังฉีกแนวทำ เรื่องอื่นอีก คือระบบ Fiber-optic นี่โดยปกติต้องใช้สายในการส่งสัญญาณ ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับระบบใช้สายสัญญาณนั้น ผมก็ศึกษาวิจัยอยู่กับระบบไร้สายด้วย”

    “ในอนาคตที่พูดถึง Fiber to the Home แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตผ่านระบบที่เรียกว่าระบบไร้สายหรือ Wi-max บางท่านคงรู้จักระบบ Wi-fi ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่ง Wi-fi มีรัศมีประมาณ 30-100 เมตร แต่ Wi-max มีรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 75 Mbps เพราะฉะนั้นถ้ารัศมีกว้างขนาดนี้เราสามารถเล่นอินเตอร์เนตในรถได้ หรือใช้งานขณะเดินไปเดินมาได้ หรือถ้ามหาวิทยาลัยติดตั้งตัวส่งสัญญาณตัวเดียวนี่สามารถใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มของผมก็ทำวิจัยทางด้านนี้ด้วย ”

  • และสิ่งที่อาจารย์อยากจะฝากไว้ก็คือ
  • “ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้มีประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน คือประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากให้ทุกคนคอยติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้”

    x.25คืออะไร

    คือ X.25 เป็นโพรโทคอลชนิดนึงที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบ WAN โดยเป็นแบบ PACKET-SWITCHEDมันจะทำงานในส่วนของ OSI MODEl Layer ที่ 1 - 3

    X.25 มีส่วนประกอบของการทำงานด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก่

    • DTE - ได้แก่อุปกรณ์ ตัวสุดท้ายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น TERMINAL,PC หรือ HOST ของเน็ตเวิร์ค
    • DCE - เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่าง PSE กับ DTE (DTE ไม่มีความสามารถในการติดต่อ กับ PSE ได้โดยตรงจะต้องทำผ่านตัวกลาง DCE ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาญ CLOCK ก่อนถึงจะส่งข้อมูลไปหา DTE ได้)
    • PSE - เป็นสวิตท์ที่ทำหน้าที่เป็น แอร์เรีย เน็ตเวิร์ค ขนาดใหญ่ โดยจะทำการส่งข้อมูลไปยัง DTE ด้วยโปรโตตอล X.25

    ในขณะเดียวกันเราจะ พบกับ PAD (Packet Assembler/Disassembler) ใน X.25 มันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่าง DCE กับ DTE ให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ โดย เมื่อมีการส่งข้อมูลจาก PSE จะส่งมาที่ DCE หลังจากนั้น ข้อมูลจะถูกส่ง ให้กับ DTE แต่ในขณะที่ส่ง DCE จะทำการส่งผ่าน PAD ก่อน โดย PAD จะทำหน้าที่ เป็นบัฟเฟอร์ ในการกรอง ข้อมูล โดยการตัดส่วน ของ HEADER ของ X.25 ออก ก่อน

    ข้อตกลงในการติดตั้งx.25 เมื่อ DTE 1ตัว ทำการร้องขอต่อส่วนการสื่อสารอื่น DTE จะทำการรับข้อตกลงหรือไม่รับก็ได้ ถ้ารับจะมีการทำงานในแบบ Full Duplex

    การเลือกเส้นทางการส่งข้อมูล ของ x.25

    มี 2 วิธี คือ

    • แบบ switched (SVCs) เป็นการเชื่อมต่อชั่วคราวใช้สำหรับถ่ายข้อมูลเป็นช่วงๆ ซึ่งวงจรที่ใช้ switched ได้แก่วงจร DTE ที่มี 2แหล่ง, maintain และTerminate

    โดยอุปกรณ์แต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารกัน

    • แบบ permanent (PVCs) เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรใช้สำหรับถ่ายข้อมูลที่การถ่ายโอนการบ่อยๆ ตัวPVCs ไม่ต้องการตัวสร้างและตัว Terminate.ดังนั้นทำให้ตัว

    DTEทั้งหลายสามารถที่เริ่มทำการส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องขอเพราะตัวสร้างทำงานตลอดเวลา

    โครงร่างส่วนประกอบของโพรโทคอล X.25

    ประกอบด้วย Packet-Layer protocol (PLP) ,Link access Procedure,Balanced (LAPB) และการติดต่อแบบอนุกรมอื่นๆเช่น (EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA 530 และG.703)

    แพ็คเกตและ เลเยอร์โพรโทคอล

    ด้วย Packet-Layer protocol (PLP) มีหน้าที่ในการควบคุมการแลกเปลี่ยน packet ระหว่างอุปกรณ์ dte มันจะทำงานในระดับที่สูงกว่า Logical link control 2 (LLC2) อันได้แก่ ระบบ Lan และ ISDN โดยทำงานในระดับ Link Access Procedure on the D channel (LAPD) การทำงานของ PLP มีการทำงาน 5 ลักษณ์ คือ call setup,data transfer,idle,call clearing,และ restarting

    • call setup จะใช้กันระหว่าง SVCs กับอุปกรณ์ DTE จะทำงานในวงจรพื้นฐานโดยจะเลือกวงจรหลักหนึ่งวงจรที่ใช้ในการเรียก call setup mode ส่วนตัวอื่นจะเป็น data transfer mode. ในวิธีนี้จะใช้กับ SVCs เท่านั้นไม่รวม PVCs.
    • Data transfer mode ใช้สำหรับถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ DTE 2 ตัวผ่านวงจรในอุดมคติ.ซึ่งในโหมดนี้ PLP ได้แบ่งเครื่องมือและตัวควบคุมออกเป็น bit padding , error และ flow
    • control ในวิธีนี้จะทำงานในวงจรพื้นฐานและใช้ได้ทั้ง PVCs และSVCs
    • Idle mode ถูกใช่เมื่อข้อมูลที่ถูกเรียกไม่มีในเส้นทาง มันจะทำการใช้เฉพาะเส้นทางพื้นฐาน ใช้ได้เฉพาะ svc
    • Restarting mode ใช้ในถ่ายโอนข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่าง อุปกรณ์ DTE และ อุปกรณ์ติดต่อ DCE จะทำงานในเส้นทางของ svc กับ pvc

    LAPB

    LAPB เป็นข้อมูลเชื่อมต่อโพรโทคอลให้บริหารการติดต่อและรูปแบบแพ็คเก็ตระหว่าง อุปกรณ์ DTEและ DCE. LAPB เป็น bit-oriented โพรโทคอล ซึ่งเฟรมนั้นจะถูกต้องตามต้องการและไม่มีข้อมูลผิดพลาดแน่นอน. เฟรม LAPB ทั้ง 3ชนิดประกอบด้วย ข้อมูล,ส่วนตรวจสอบ,ส่วนไม่นับ. เฟรมข้อมูล (I-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนบนของเลเยอร์และข้อมูลควบคุมบ่างส่วน. ฟังก์ชัน I-FRAME ประกอบด้วย ซีเควียนติง,ชาร์ตควบคุม,และส่วนหาและตรวจสอบข้อผิดพลาด. I-FRAME จะส่งพาหะและรับเลขลำดับ.เฟรมตรวจสอบ (S-FRAME) จะพาข้อมูลควบคุม.ฟังก์ชัน S-FRAME ประกอบด้วยส่งความต้องการและส่วนส่งพักตำแหน่ง,รายงานสถานะและรับรู้จาก I-FRAME . S-FRAME จะพาเฉพาะส่วนรับลำดับหมายเลข.ส่วนไม่นับ (U-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนควบคุม. ฟังก์ชัน U-FRAME ประกอบด้วยส่วนติดตั้งเชื่อมโยงและตัดการติดต่อ คล้ายๆตัวรายงานข้อมูล ERROR . U-FRAME จะพาเฉพาะหมายเลขที่ไม่เป็นลำดับ

    X.21bis

    X.21bis เป็นเลเยอร์โพรโทคอลทางกายภาพที่ใช้ใน X.25 โดยอธิบายในรูปของอิเล็กทรอนิกส์และรูปของเครื่องจักรที่ใช้ในระดับกลางๆ. X.21bis เป็นเครื่องมือกระตุ้นและระงับของอุปกรณ์เชื่อมต่อ DTEและ DCEในระดับภายนอกกลางๆ.ซึ่งมันจะสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด และมีความเร็วถึง19.2 kbps,และสัมพันธ์กัน,การส่งข้อมูลทางมีเดียร์เป็นแบบ full-Duplex มากกว่า 4เส้น


    -ช่วยให้ remote Device สามารถที่จะติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง

    -Packet Switching เป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ packet ของ HDLC data ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน

    -x.25 protocol ทำงานบน 3 Layer ล่าง บน OSI Layer

    -User ปลายทาง คือ DTE

    -อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE

    -Switching virtual circuits (SVCs) คล้ายกับระบบโทรศัพท์ กล่าวคือ Create Connection แล้วส่งข่าวสาร และ close connection เมื่อเสร็จสิ้น ซึ่งทุก DTE จะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกันบน Network

    -Permanent virtual circuits (PVCs) ค้ลายกับระบบคู่สายเช่า ใช้การเชื่อมต่อเต็มเวลา packet จะถูกส่งออกไปโดยไม่มีการ create connection ขึ้นก่อน

    -การสร้าง connection ใช้ SVC ทำโดย DTE ต้นทาง จะส่ง Call Request packet ซึ่งมีที่อยู่ของ DTE ปลายทางไปยัง Network และ DTE ปลายทางจะทำการตัดสินใจว่าจะตอบรับหรือไม่ ถ้าตอบรับก็จะส่ง Call Accepted packet กลับมา หรือถ้าไม่รับ จะส่ง Clear packet เมื่อต้นทางได้รับ Call Accepted packet แล้ว Virtual Circuit จะเกิดขึ้นทันทีแล้วจะเริ่มส่งข้อมูลกัน และเมื่อ DTE ใดต้องการยกเลิกการเชื่อต่อ ก็จะส่ง Clear Request packet ออกไปอีกฝั่งก็จะตอบรับด้วย Clear Confirmation packet

    -ทุก packet จะถูกทำเครื่องหมายด้วย Logical Channel Identifier (LCI) หรือ Logical Channel Numer (LCN) ซึ่งจะใช้เป็นตัวตัดสินใจหาเว้นทางที่เหมาะสมไปยัง DTE ปลายทาง

    -ขนาดของ packet จะมีตั้งแต่ 64byte ไปจน 4096 byte แต่ 128 byte คือ default

    -store-and-forward is nuture of Packet Switching

    -ปัญหาของ x.25 คือ Inherent Delay เพราะมาจากเทคนิค store-and-forward และยังต่อมีการจอง buffer ขนาดใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับ frame relay ที่จะไม่มีการ store แต่จะ switch หาเส้นทางที่เหมาะสมในทันที นอกจากนี้ x.25 ยังมีการตรวจสอบ Error ทุกครั้งที่ได้รับ packet และก่อนที่จะ switch ต่อไปอีกที่

    -เมื่อตรวจพบ Erroe apcket ตัว Switching จะยกเลิก packet นั้นออกไปทันที ส่วน DTE ปลายทางก็จะรอจน Time-Out แล้วส่งใหม่

    - x.25 เป็นจุดต้นกำเนิดของ frame relay หรือ Cell Relay

    ISDN

    ISDN คืออะไร
    Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน
    การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน

    บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท
    • Individual
      เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว



    • Corporate หรือ LAN
      เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน

    ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
    • ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
    • ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
    • สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
    เพิ่มเติม
    • กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
    • ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
    • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา

    วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบIPV6 30 ข้อ

    ข้อสอบเรื่อง IPv6 30 ข้อ
    1. IP Address มีชื่อเต็มว่า
    ก. Internet Protocall Address
    ข. Internet Protocol Address

    ค. Internat Protocall Address
    ง. Internets Protocol Address

    2. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
    ก. ตัวเลขสามารถซ้ำกันได้ทุกตัว
    ข. สามารถใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างเลขแต่ละหลักได้
    ค. ตัวเลขทุกตัวจะต้องไม่ซ้ำกัน
    ง. แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่ต่างกัน
    3. Internet Protocol version ใดที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
    ก. IPv1
    ข. IPv2
    ค. IPv3
    ง. IPv4
    4. เหตุใดจึงมีการคิดค้น Internet Protocol version ใหม่ขึ้น
    ก. เพราะ IP Address ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
    ข. เพราะต้องมีการคิดค้นเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 3 ปี
    ค. เป็นการลงมติเห็นชอบจากเวทีโลก
    ง. ไม่มีข้อใดถูก

    5. IPv4 และ IPv6 แตกต่างกันอย่างไร
    ก. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 64 บิต
    ข. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 32 บิต
    ค. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 128 บิต
    ง. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 64 บิต

    6. ข้อใดผิด
    ก. IPv6 ผู้บริหารมีส่วนในการบริหารจัดการงานมากขึ้น
    ข. IPv6 ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
    ค. IPv6 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processi
    ง. IPv6 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)
    7. เหตุใดประเทศในแถบอเมริกาเหนือจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ IPv6
    ก. เพราะสังคมเป็นแบบประชาธิปไตย
    ข. เพราะมี IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองเฉพาะชาวอเมริกัน
    ค. เพราะมีรากฐานเศรฐกิจที่มั่มคง
    ง. เพราะได้รับการจัดสรร IP Address ไปถึง 70% ของ IP Address ที่ใช้ทั่วโลก
    8. แนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ IP Address อย่างไร
    ก. ทำให้ IP Address มีปริมาณเกินความต้องการ
    ข. มีการนำเอา IP Address มาใช้กับเทคโนโลยี ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น
    ค. เทคโนโลยีด้านอื่นจะเข้ามาแทนการใช้ IP Address
    ง. การใช้ IP Address ควบคู่กับเทคโนโลยีจะถูกจำกัดในวงแคบ
    9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการมี IP Address ที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
    ก. สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร
    ข. เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ
    ค. ทำให้ระบบภายในของอุปกรณ์นั้นๆ เกิดผลเสีย
    ง. ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

    10. เหตุใดเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง IPv6
    ก. เพราะหาก IPv4 ถูกใช้หมดไป IPv6 เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้
    ข. เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
    ค. เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสในหลายๆ ด้าน
    ง. ถูกต้องทุกข้อ
    11.การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือเรียกอีกอย่างว่า
    ก. PIT
    ข. RIR
    ค. LPG
    ง. PLI
    12.ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อะไร
    ก. mont
    ข. IP Address
    ค. toryt
    ง. fopbfor
    13. IPv4 นี้มีที่มาจากเลขฐานสองขนาดกี่บิต
    ก. 36 บิต
    ข. 32 บิต
    ค. 45 บิต
    ง. 40 บิต
    14. IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของอะไร
    ก. Internet protobal
    ข. Internet protoset
    ค. Internet protocal
    ง. Internet Protocol

    15. IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็นกี่ประเภท
    ก. 1 ประเภท
    ข. 2 ประเภท
    ค. 3 ประเภท
    ง. 4 ประเภท
    16. IPv6 มีขนาดของ address กี่ไบท์
    ก. 10 ไบท์
    ข. 11 ไบท์
    ค. 13 ไบท์
    ง. 16 ไบท์


    17. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางแบบใด
    ก. แบบลำดับชั้น
    ข. แบบผสม
    ค. แบบต่อเนื่อง
    ง. แบบล่าง

    18. RIR ที่ได้จัดสรรหมายเลข IPv6 มากที่สุด คือ
    ก. RIPL MCC
    ข. RIPE NCC
    ค. RIPT ACC
    ง. RIPG TCC
    19. Pv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบแบบแบบใด
    ก. แบบอัตโนมัติ
    ข. แบบถาวร
    ค. แบบชั่วคราว
    ง. แบบต่อเนื่อง
    20. IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน ใด
    ก. 2
    ข. 3
    ค. 4
    ง. 5
    ข้อสอบ 20 ข้อ
    21.(IPV6) ย่อมาจากอะไร
    ก. Internet Protocol Vertion6 ข. Vertion6
    ค. Internet Protocol ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ก.
    22.โพรโตคอลดังกล่าวทั้งหมดกี่ฉบับ
    ก. 1ฉบับ ข. 2ฉบับ
    ค. 3ฉบับ ง.4ฉบับ
    เฉลย ง.
    23.CATNIP ย่อมาจากอะไร
    ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
    ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
    ค.(Simple Internet Protocol Plus)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลยก.
    24.TUBA ย่อมาจากอะไร
    ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
    ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
    ค.(Simple Internet Protocol Plus)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ข.
    25. SIPP ย่อมาจากอะไร
    ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
    ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
    ค.(Simple Internet Protocol Plus)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ค.
    26.แนวทางในการพัฒนาIPV6 อย่างเป็นทางการไว้ในเอกสาร RFC 1752 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
    ก.นโยบายการแบ่งสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส
    ข.ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกคืนชุดหมายเลขไอพีรุ่นที่ 4 ที่มีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่าเกณฑ์กลับคืนมา
    ค.- ให้ใช้หลักการแบ่งสรรหมายเลขไอพีคลาส A ที่เหลืออยู่แบบ CIDR
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉยล ง.
    27.โครงการ IPng Area (คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งโดย Internet Engineering Task Force, IETF ในปีค.ศ.ใด
    ก.1991 ข.1992
    ค.1993 ง.1994
    เฉลย ค.
    28.คณะทำงาน IPng ถูกก่อตั้งขึ้นโดยใคร
    ก.Steve Deering และ Ross Callon ข.adda
    ค.Ping ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ก.
    29.คณะทำงาน Address autoconfiguration ถูกก่อตั้งและนำทีมโดยใครบ้าง
    ก. Ross Callon ข. Steve Deering
    ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ค.
    30.โครงการ IPng Area จะสิ้นสุดลงเมื่อปลายพ.ศ.ใด
    ก.ปลายปี 1994 ข.ปลายปี 1997
    ค.ปลายปี 1995 ง.ปลายปี 1990
    เฉลย ก.

    วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    IP Header ของ IPV6

    IPV6
    IPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6" ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป ออกแบบและคิดค้นโดย IETF เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 ("IPv4") ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ เราจะใช้ IPv4 ที่มีอายุเกือบ 20 ปีแล้ว และเริ่มจะมีปัญหาคือ IPv4 addresses กำลังใกล้จะหมด เนื่องจากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ที่ต้องการจะต่อกับ Internet เพิ่มขึ้นทุกวันIPv6 จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดใน IPv4 เช่น เพิ่มจำนวน IP address ที่ใกล้จะหมด และได้เพิ่มความสามารถ บางอย่างให้ดีขึ้นกว่า IPv4 ด้วย เช่นความสามารถในด้าน routing และ network autoconfigurationIPv6 ถูกกำหนดให้แทนที่ IPv4 แบบค่อยเป็นค่อยไป คือช่วงระหว่างการเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 คงใช้เวลาหลายปี จะต้องให้ IP ทั้งสองเวอร์ชั่นทำงานร่วมกันได้ เครื่องไหนเปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วก็ต้องให้ IPv4 เข้าใช้บริการได้
    Nectec Mobile IPv6 TestBed
    การประยุกต์ใช้งาน IPv6 จะสามารถใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ผู้พัฒนาก็สามารถตอบสนอง ให้เป็นไปในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ ถ้าIPv4 สามารถทำได้ IPv6 ก็สามารถทำได้ และประสิทธิภาพในการสื่อสารต้องดีกว่า IPv4 ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการนำเอา IPv6 มาทำการเคลื่อนที่เหมือน IPv4 แต่จะลด Overhead และเพิ่มประสิทธิภาพของความปลอดภัยทำให้การทำงานดีขึ้นเมื่อย้ายไปเครือข่ายอื่นๆจนสามารถกลับมาเครือข่ายเดิมของตัวเอง ตลอดการเชื่อมต่อโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงค่าใหม่ตามเครือข่ายนั้นๆ
    1.1 Mobile IPv6 คืออะไร
    Mobile IPv6 คือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่บนเครือข่าย IPv6 โดยปกติคอมพิวเตอร์พกพาหรือโน็ตบุคสามารถใช้งานตามที่ต่างๆ คล้ายกับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงแต่คอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แทนหมายเลขโทรศัพท์ ทีนี้ทำอย่างไรให้ IP address ของเราติดไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนหมายเลขโทรศัพท์เวลาเราย้ายเครือข่าย มาตราฐาน Mobile IPv6 จึงถูกกำหนดขึ้นมาโดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี IP address สองชุด ชุดแรกเป็นเสมือน บ้านเลขที่เดิมเรียกว่า Home Address ชุดที่สองเป็นเสมือนเลขที่ชั่วคราวซึ่งได้มาเวลาย้ายเครือข่ายเรียกว่า Care-of address จากนี้ทุกการติดต่อกับ Home Address ก็จะถูกส่งต่อโดยตัวกลางหรือ Home Agent มายัง Care-of address โดยไม่สะดุดคือทั้งผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเปลี่ยนแปลง IP address ใดๆด้วยตนเอง
    1.2 จะใช้งาน Mobile IPv6 เมื่อใด
    เมื่อเราต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตขณะเคลื่อนที่ การใช้ Mobile IPv6 ทำให้การส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตราบรื่น ทุกเครือข่ายต้องเชื่อมผ่านรูปแบบ IPv6 เราจะสามารถเคลื่อนย้ายในรูปแบบนี้ได้จากทุกที่ที่สามารถเชื่อมถึงกัน ในการทดสอบได้ทำอยู่ในระดับห้องทดลองก็จะมี การทดสอบในระดับโปรแกรมที่ใช้งาน 3 โปรแกรมคือการ ping ssh ftp และการ Streaming ได้แสดงผลของการทดลองให้ดูความแตกต่างและความสะดวกในการใช้งานเมื่อเราเคลื่อนย้ายไปสู่เครือข่ายอื่น
    1.3 การทำงานของ Mobile IPv6 องค์ประกอบที่สำคัญของ IPv6
    1. Mobile Node (MN) อุปกรณ์เคลื่อนที่
    2. Corespoding Node's (CN) คู่สนทนา
    3. Home Agent (HA) ตัวกลางในการติดต่อกับ MN
    4. Home Network เครือข่ายเดิม
    5. Home Address หมายเลขไอพีเดิม
    6. Foreign Network เครือข่ายใหม่
    7. Care-of Address หมายเลขไอพีใหม่
    ขั้นตอนการทำงานของ Mobile IP
    1. เมื่อ MN เคลื่อนที่ไปยัง Foreign network จะได้รับ IP address ใหม่จากเจ้าของเครือข่าย เรียกว่า Care-of address
    2. MN ส่ง ฺBinding Update ไปยัง HA เพื่อประกาศ Care-of address ให้ Home network ทราบ
    3. HA ตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ
    4. เมื่อ CN ต้องการติดต่อกับ MN จะติดต่อผ่าน HA (เพราะยังไม่ทราบว่ามีการเคลื่อนที่)
    5. HA ส่งต่อข้อมูลจาก CN ให้กับ MN โดยใช้ Care-of address ของ MN
    6. MN สร้าง tunnel ผ่าน HA เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยัง CN
    7. Return Routability: MN และ CN แลกเปลี่ยน test packet เพื่อทดสอบเส้นทางว่าทั้ง Home address และ Care-of-address นั้นใช้งานได้ โดย MN จะส่ง test packet ไปทั้งสองเส้นทาง เส้นทางแรกส่งผ่าน HA ไปยัง CN และเส้นทางที่สองส่งไปยัง CN โดยตรง จากนั้น CN ตอบรับ test packet ทั้งสองพร้อมทั้งส่งรหัสเพื่อเริ่มการติดต่อ
    8. Route Optimization: MN ส่ง Binding Update ไปยัง CN เพื่อประกาศ IP address ใหม่ จากนั้น CN จะตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ จากนั้น MN และ CN จะติดต่อกันโดยตรงไม่ผ่าน HA โดยข้อมูลที่ส่งผ่านกันทั้งหมดนี้จะถูกเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัย

    วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

    routing คืออะไร

    routing คืออะไร
    ระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP เช่น เครือข่าย MUC-Net และ Internet การส่งข้อมูลจะถูกตัดแบ่งเป็น IP Packet ซึ่งในส่วนหัว (Header) ของข้อมูลจะระบุที่อยู่ผู้รับ (IP Address) ไว้ เมื่อ Router หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลไปยังปลายทาง ได้รับ Packet นี้ จะทำการดูในส่วนที่อยู่ผู้รับว่าอยู่ที่ใด และดูข้อมูลจากตารางเส้นทางหรือเรียกว่า Routing Table ว่าควรจะส่ง Packet นั้นต่อไปที่ใด ซึ่งข้อมูลในตารางเส้นทางนี้ ได้จากการคำนวณหาเส้นทางที่ดีที่สุดไว้แล้ว เปรียบเทียบให้ง่าย ก็เหมือนเรา ส่งจดหมายมีจ่าหน้าซอง (เทียบกับ Header) เมื่อส่งไปในตู้ไปรษณีย์แล้ว จดหมายนี้จะกระจายต่อไปให้แต่ละที่ทำการไปรษณีย์ (เทียบกับ Router) มีเจ้าหน้าที่แยกจดหมาย (เทียบกับตารางเส้นทาง) แต่ละฉบับไปยังปลายทาง ของผู้รับนั่นเอง
    การทำ routing Protocol นั่น มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
    1. Static route หรือ Default route
    2. Dynamic route เช่น rip,igrp,ospf,eigrp เป็นต้น
    แต่หัวข้อนี้ เราจะมาพูดถึง Static route และ default route ว่ามันมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร รวมไปถึงตัวอย่างการ config
    การเลือกเส้รทางแบบ Static เป็นวิธีการเลือกเส้นทางที่ราบเรียบและง่ายต่อความเข้าใจ รวมทั้งยังสามารถจัดตั้งค่าการทำงานบน router ได้โดยง่าย โดยเฉพาะกับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้การทำงานบนเครือข่ายโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าการใช้ Dynamic routing protocol
    ข้อดีของการทำ Static route
    1. มีความปลอดภัยในข้อมูล่สูงกว่า เนื่องจากเป็นการระบุเส้นทางแบบตายตัว ทำให้ router ไม่ต้องไปหาเส้นทางอื่น ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้
    เพราะัมันจะเลือกเฉพาะเส้นทางที่ดีที่สุดแต่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัย
    2. router ไม่ต้องใช้ประสิทธิภาพการทำงานของ CPU ที่สูงมากนัก เพราะไม่ต้องมานั่งตัดสินใจเลือกเส้นทางของ packet
    3. ทำให้ประสิทธิภาพของ network โดยรวมดีมาก เพราะ router แต่ล่ะตัวไม่ตอ้งประมวลผลการเลือกหาเส้นทาง

    ข้อเสีย ของ Static
    1. เมื่อมีการเพิ่ม router เข้าไป จะต้องมานั่ง config ทุก ๆ router ใหม่ ทำให้เกิดความล่าช้า หรือ เสียเวลามาก
    2. จะต้องมีความเข้าใจระบบเครือข่ายโดนรวม และเข้าใจถึงการเชื่อมต่อของ router ทุกตัวบนทุก ๆ interface
    ค่า AD คืออะไร ??
    Administrative Distance หรือ AD เป็นค่าประจำตัวของ Protocol เลือกเส้นทาง หรือ routing protocol โดย Protocol เลือกเส้นทางจะใช้ค่า AD นี้ เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด และจะถือว่าเส้นทางใดที่มีค่า AD ที่น้อยที่สุด router จะเลือกเส้นทางนั่น

    วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    คำถาม

    คำถาม

    1.การแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็น กี่ ประเภทใหญ่ๆ
    ก.2 ประเภท
    ข.3 ประเภท
    ค.4 ประเภท
    ง.5 ประเภท
    เฉลย ก 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภท interior routing protocol และ exterior routing protocol Routing Algorithm ของเว็บhttp://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/c4_2.html

    2.ในการใช้งาน Interior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดใด
    ก.เครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่
    ข.เครือข่ายขนาดกลางที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่
    ค.เครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย คInterior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดใดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อของเว็บ http://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/c4_2.html

    3.เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายใดต่อไปนี้
    ก.เครือข่าย LAN ข.เครือข่าย WAN
    ค. เครือข่าย MAN ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน

    4.สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์คือ
    ก.บริดจ์มีการทำงานที่ต่ำกว่าคือในระดับชั้นที่3 ของ โมเดล OSI
    ข.เราเตอร์มีการทำงานที่ต่ำกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI
    ค.บริดจ์มีการทำงานที่สูงกว่าคือในระดับชั้นที่3 ของ โมเดล OSI
    ง.เราเตอร์มีการทำงานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI
    เฉลย ง สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์คือ เราเตอร์มีการทำงานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI นั่นคือคือ Network Layer โดยจะใช้ logical address หรือ Network Layer address ซึ่งเป็นที่อยู่ซึ่งตั้งโดยซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระดับ Network Layer รู้จักแหล่งที่มา ย่อหน้าที่3 บรรทัดที่ 1-2-3 จากเว็บ http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan8.htm

    5.หน้าที่หลักของเราเตอร์คือข้อใดต่อไปนี้
    ก.การหาเส้นทางในการรับข้อมูล
    ข.การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น
    ค.การหาเส้นทางในการรับส่งข้อมูล
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ข การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น โดยในแต่ละเครือข่ายจะมีรูปแบบของ packet ที่แตกต่างกันตามโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบน (ตั้งแต่เลเยอร์ที่ 3 ขึ้นไป) เช่น IP, IPX หรือ AppleTalkแหล่งที่มา ย่อหน้าที่4 บรรทัดที่ 1 จากเว็บhttp://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan8.htm

    6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อดีของการใช้เราเตอร์
    ก.การเลือกเส้นทางในการที่จะส่งข้อมูล สามารถใช้เราเตอร์ช่วยในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
    ข.มีความคล่องตัวในการทำงานสูง เนื่องจากสามารถทำงานร่วมกับโทโพโลยีได้ทุกชนิด
    ค.การปิดกั้นเครือข่าย หรือแยกเครือข่ายออกจากเครือข่ายที่ไม่ต้องการจะติดต่อด้วย ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยวิธีหนึ่ง
    ง.เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จัก
    เฉลย ง. เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา บรรทัดที่1 หัวข้อข้อดีของการใช้เราเตอร์

    8.htm7.ฮับสวิตซ์เราเตอร์ และจุดเข้าใช้งาน ทั้งหมดนี้ใช้เพื่ออะไร
    ก.เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย
    ข.เชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย
    ค.เชื่อมต่อสัญญาณต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย
    เฉลย ก. ฮับสวิตซ์เราเตอร์ และจุดเข้าใช้งาน เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย อย่างไรก็ดีอุปกรณ์แต่ละอย่างมีความแตกต่างกันในด้านความสามารถแหล่งที่มา บรรทัดที่ 4 จากเว็บhttp://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/b931c4ca-5f26-4924-91a7-29a269680e891054.mspx

    9. ระหว่างเครือข่ายในบ้านกับอินเทอร์เน็ตมีทั้หมดกี่แบบ
    ก.4 ข.3 ค.2 ง.1
    เฉลย ค 2 แบบคือแบบมีสายและ แบบไร้สายแหล่งที่มา บรรทัดที่ 2 ของหัวข้อเราเตอร์ จากเว็บhttp://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/b931c4ca-5f26-4924-91a7-29a269680e891054.mspx

    10.ข้อใดคือคุณลักษณะพิเศษของเราเตอร์
    ก.มีการรับข้อมูลแบบไร้สาย
    ข.มีการรับส่งข้อมูลโดยใช้ตัวแปลกลาง
    ค.มีระบบการส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูงสุด
    ง.มีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัวเอง
    เฉลย ง.มีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัว เช่น ไฟร์วอลล์ เราเตอร์จะมีราคาแพงกว่าฮับและสวิตซ์แหล่งที่มา บรรทัดสุดท้ายของหัวข้อ เราเตอร์ จากเว็บhttp://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/b931c4ca-5f26-4924-91a7-29a269680e891054.mspx

    11.จุดเข้าใช้งาน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
    ก.สถานีกาน ข.สถานีฐาน
    ค.สถานเครือข่าย ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ข.จุดเข้าใช้งาน (หรือที่เรียกว่า สถานีฐาน)แหล่งที่มา บรรทัดที่1ของหัวข้อ จุดเข้าใช้งาน

    12.การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่าอะไร
    ก. LAN Router ข.M AN Router
    ค. WAN Router ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ข. การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่า WAN Routerแหล่งที่มา บรรทัดที่3 ย่อหน้าที่3 ของหัวข้อ การทำงานของเราเตอร์จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    13.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยการติดตั้ง Router บน WAN
    ก.รูปลักษณะของการเชื่อมต่อ (Topology)
    ข. ขนาดและจำนวนของเครือข่าย
    ค. รูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ง.ไม่มีข้อถูก เพราะทั้งหมดนี้คือปัจจัยในการพิจารณาในการติดตั้ง Router บน WANแหล่งที่มา ย่อหน้าที่ 1 หัวข้อ การติดตั้ง Router บน WANจากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm

    14. Router ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลนและเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายด้วยสายสัญญาณของระบบแลน เราเรียกว่า
    ก. Internal Router
    ข. Local Router
    ค. Internet Router
    ง.ถูกทั้ง ก และ ข
    เฉลย ง.ถูกทั้ง ก และ ข หรือ Router ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลนและเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายด้วยสายสัญญาณของระบบแลน เราเรียกว่า Local Router หรือบางครั้งจะถูกเรียกว่า Internal Routerแหล่งที่มา บรรทัดที่ 3-4 ย่อหน้าที่ 3ของหัวข้อ การทำงานของเราเตอร์จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    15.กฎกติกาขั้นพื้นฐานของ การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN ได้แก่ กฎกติกาการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ
    ก.แบบ 60/40 ข.แบบ 70/30 ค.แบบ 80/20 % ง.แบบ 90/10
    เฉลย กฎกติกาขั้นพื้นฐานของ การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN ได้แก่ กฎกติกาการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ 80/20 % ซึ่งในที่นี้ หมายความว่า 80% ของข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อสารกัน จะต้องเกิดขึ้นภายในเครือข่าย เดียวกัน จะต้องไม่ข้ามออกไปทาง Router มิเช่นนั้น เครือข่ายจะทำงานช้าอย่างเห็นได้ชัด ส่วน 20% หมายถึง ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่จะข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายแหล่งที่มา บรรทัดที่ 1-5 ของย่อหน้าที่ 1 หัวข้อการจัดวางตำแหน่งของเราเตอร์http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    16.ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน จะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer ใดเพื่อติดตั้ง Router
    ก.1 ข.2 ค.3 ง.4
    เฉลย ค.3 ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน จะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer 3 หรือ พิจารณาเพื่อติดตั้ง Router ในรูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั่นคือการติดตั้งการ์ดแลนหลายชุดบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์


    17.ข้อใดคือปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้ Local Router
    ก.อัตราความเร็วที่ต้องการ
    ข.ประเภทของสื่อสัญญาณ (สายสัญญาณ) ที่ใช้
    ค.ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย เลือกใช้ Local Router ในรูปแบบใด ให้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้- ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่าย (แม้จะอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือใกล้กันก็ตาม)- อัตราความเร็วที่ต้องการ-ประเภทของสื่อสัญญาณ (สายสัญญาณ) ที่ใช้-โปรโตคอลการสื่อสารระหว่างเครือข่าย โปรโตคอลของแลนที่นำมาเชื่อมต่อระหว่างกัน- ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย- ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างเครือข่าย- รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) ของเครือข่าย-โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) ที่จะนำมาใช้แหล่งที่มา หัวข้อความแตกต่างระหว่างการเชื่อมเครือข่าย จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    18.ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย มีไม่เกินกี่เมตรท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP
    ก.100 เมตร ข.200 เมตร ค.300 เมตร ง.400 เมตร
    เฉลย หากระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย มีไม่เกิน 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTPแหล่งที่มา บรรทัดที่ 1 หัวข้อระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายจากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    19.ในกรณีที่ท่านต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ท่านควรพิจารณาเลือกใช้ layerใด
    ก. Layer 1 Switching Hub
    ข. Layer 2 Switching Hub
    ค. Layer 3 Switching Hub
    ง. Layer 4 Switching Hub
    เฉลย ค. Layer 3 Switching Hubเนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็วแหล่งที่มา บรรทัดสุดท้ายของ ย่อหน้าที่ 2 หัวข้ออัตราความเร็วที่ต้องการ จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    20.การใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์จะทำให้เกิดข้อจำกัดในรูปแบบการเชื่อมต่อ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
    ก.จุด (Point To Point)
    ข.ระหว่างเครือข่ายกับ Router
    ค.ระหว่าง Router
    ง.ระหว่างเครือข่ายกับจุด
    เฉลย ง.ระหว่างเครือข่ายกับจุด ที่ผิดเพราะเป็น รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างจุด (Point To Point) ระหว่างเครือข่ายกับ Router และ ระหว่าง Routerแหล่งที่มา บรรทัดที่2 ย่อหน้าที่ 1 หัวข้อรูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่าย จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


    20.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยการติดตั้ง Router บน WAN
    ก.รูปลักษณะของการเชื่อมต่อ (Topology)
    ข. ขนาดและจำนวนของเครือข่าย
    ค. รูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ง.ไม่มีข้อถูก เพราะทั้งหมดนี้คือปัจจัยในการพิจารณาในการติดตั้ง Router บน WANแหล่งที่มา ย่อหน้าที่ 1 หัวข้อ การติดตั้ง Router บน WANจากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm

    ข้อสอบ

    ข้อสอบ
    1 การส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบใด
    ก. Fast Ethernet ข. Gigabit Ethernet
    ค. Ethernet ง. Hub
    เฉลย ข้อ ก. Fast Ethernet

    2 LAN แบ่งลักษณะการทำงานได้เป็นกี่ประเภท
    ก. 1 ประเภท
    ข. 2 ประเภท
    ค. 3 ประเภท
    ง. 4 ประเภท
    เฉลย ข. 2 ประเภท

    3 นักศึกษาคิดว่า สถานศึกษาควรใช้ระบบเครือข่ายแบบใด
    ก. FDDI ข. CDDI
    ค. ATM ง. Ethernet
    เฉลย ข้อ ง. Ethernet

    4 ปัจจุบันระบบเครือข่ายที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากที่สุดคือ
    ก. Fast Ethernet
    ข. Gigabit Ethernet
    ค. Hub
    เฉลย ข้อ ข. Gigabit Ethernet

    5 ระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีวงแหวน คือข้อใด
    ก. IEEE 802.3
    ข. IEEE 802.4
    ค. IEEE 802.2
    ง. IEEE 802.5
    เฉลย ข้อ ง. IEEE 802.5

    6 Token-Ring (IEEE 802.5) ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่มีชื่อว่าอะไร
    ก. IBM ข. ISO ค. Hub ง. IEEE
    เฉลย ข้อ ก. IBM

    7 Hub หรือ Switch เหมื่อนกันอย่างไร
    ก. มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเหมื่อนกัน
    ข. Hub หรือ Switch ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
    ค. มีจำนวนช่องเสียบสาย UTP เท่า
    ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
    เฉลย ข้อ ข. Hub หรือ Switch

    ROUTER


    ระบบสื่อสารข้อมูล
    เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไป เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Router ในการเชื่อมต่อ LAN หลายแบบเข้าด้วยกันผ่าน WAN ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น node หนึ่งใน LAN นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานอื่นๆได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย การทำงานของ Routerสิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล station address ในการทำงานส่งข้อมูลไปยังที่ใดๆ ซึ่งหมายเลข station address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกัน ถ้ามีการเปลี่ยน NIC นี้ไป ก็จำทำให้ station address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Network Layer address ในกการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IPX, TCP/IP หรือ AppleTalk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer การกำหนด Network address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อยๆหน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลาย

    Router
    Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเครื่อง Node หนึ่งใน Lan ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปของ Packet ที่ ต่างออกไป เพื่อให้ผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Routerr ในการเชื่อมต่อ Lan หลายแบบเข้า ด้วยกันผ่าน Wan ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น Node หนึ่งใน Lan นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานแบบอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อ หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหนควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัย

    การทำงานของ Router
    สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge คือ ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล Station Address ในการทำงานส่งข้อมูล ไปยังที่ใด ๆ ซึ่งหมายเลข Station Address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC)) และถูกกำหนดมาเฉพาะ ตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลง NIC นี้ก็จะทำให้ Station Address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Router ทำงานที่ระดับสูงกว่าคือ Network Layer หรือชั้นที่ 3 ของ OSI โมเดลโดยใช้ Logical Address หรือ Network Layer Address ซึ่งคือ Address ที่ตั้งด้วยซอฟแวร์ ตามที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะ ตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระบบ Network Layer รู้จัก ในการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IP,TCP/IP หรือ Apple Talk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer นี้เช่นกัน การกำหนด Network Address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง ได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อย ๆ
    หน้าที่หลักของ Router คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายที่ใช้สัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไ่ม่ว่าจะเป็น Ethernet , Token Ring หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี Packet เป็นรูปแบบของตนเอง ซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IPX,TCP/IP หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น Packet นี้เพื่อทจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งทำได้เพราะ Router ทำงานใน Network Layer ซึ่งเป็นระดับสูงที่พอจะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงไป Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง
    รู้จักกับ ADSL Router
    ADSL Router คืออุปกรณ์เชื่อมต่อ ADSL มีคุณสมบัติในการแชร์อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เราเตอร์มาพร้อมกับพอร์ต RJ45 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายเช่น HUB หรือ SWITCH หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือที่เรียกว่าสายแลน
    เราเตอร์ Billion รุ่น Bipac 711c มีพอร์ต LAN และพอร์ต USB ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้กับเครือข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ผ่านทางพอร์ต USB ก็ได้

    วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    Ethernet

    Ethernet

    IEEE 802.3: Ethernet = Ethernet นับเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยี LAN เนื่องจาก LAN ส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดในปัจจุบันใช้ พื้นฐานของเทคโนโลยีนี้ คุณลักษณะเฉพาะในการทำงานของ Ethernet คือการทำงานแบบที่เรียกว่า การเข้าใช้ระบบเครือข่ายโดยวิธีช่วงชิง หรือ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) โดยมีหลักการทำงานดังนี้ก่อนที่สถานีงานของผู้ใช้จะส่งข้อมูลออกไปยังเครือข่าย จะต้องมีการแจ้งออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบดูว่ามีสัญญาณพาหะของผู้ใช้รายอื่นอยู่ในสายหรือไม่ เมื่อไม่พบสัญญาณของผู้ใช้อื่น จึงจะเริ่มส่งข้อมูลออกไปได้ หากตรวจพบสัญญาณพาหะของผู้ใช้รายอื่นอยู่ จะต้องรอจนกว่าสายจะว่างถึงจะส่งข้อมูลได้ ในกรณีที่เกิดปัญหาในการตรวจสอบสัญญาณพาหะ ซึ่งอาจเนื่องมาจากระยะทางของสถานีงานอยู่ห่างกันมาก อาจจะเกิดการชนกันของข้อมูลขึ้นได้ ในกรณีนี้ให้ทั้งทุกๆ สถานีหยุดการส่งข้อมูลขณะนั้น แต่ละสถานีจะทำการสุ่มช่วงระยะเวลาในการรอ เพื่อทำการส่งข้อมูลออกไปใหม่เพื่อไม่ให้มีการชนกันเกิดขึ้นอีก หากยังมีเหตุการณ์ชนกันเกิดขึ้นอีก ก็จะต้องหยุดรอโดยเพิ่มช่วงระยะเวลาในการสุ่มเป็นสองเท่าเพื่อให้ลดโอกาสการชนกันลงและส่งข้อมูลออกไปใหม่ และทำซ้ำเช่นนี้ จนกว่าข้อมูลจะถูกส่งออกไปได้อย่างสมบูรณ์แม้ว่าระบบ CSMA/CD ดูเหมือนจะเป็นวิธีจัดระเบียบการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายที่ไม่เรียบร้อยนัก แต่ก็ทำงานได้ผลเป็นอย่างดี แต่เมื่อมีจำนวนโหนดบนเครือข่ายมากขึ้น ก็จะทำให้ความน่าจะเป็นในการปะทะกันของ ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เครือข่ายทำงานช้าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระบบเครือข่าย Ethernet ยังสามารถแบ่งประเภทได้อีก ตามความเร็วและชนิดของสายเคเบิล ดังนี้

    IEEE 802.3 10Base5 (Thick Ethernet) = เป็นระบบเครือข่ายแบบบัส ใช้สายโคแอ็กเชียลอย่างหนา (3/8 นิ้ว) สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 500 เมตร และเนื่องจากสายโคแอ็กเชียลอย่างหนาสามารถนำสัญญาณไปได้ไกลกว่าจึงมักถูกใช้เป็นแบคโบน (Backbone) ของระบบเครือข่าย

    IEEE 802.3 10Base2 (Thin Ethernet) = เป็นระบบเครือข่ายแบบบัส ใช้สายโคแอ็กเชียลอย่างบาง (3/16 นิ้ว) สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าแบบแรกและราคาต่ำกว่า สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 200 เมตร

    IEEE 802.3 10BaseT (Twisted-pair Ethernet) = เป็นระบบที่จัดการเชื่อมต่อโหนดต่างๆ เข้ากับ Hub เป็นรูปแบบดาว ใช้สายคู่พันเกลียวโดยอาจเป็นแบบไม่มีสิ่งห่อหุ้ม(Unshielded Twisted-pair) หรือแบบมีสิ่งห่อหุ้ม (Shielded Twisted-pair)ก็ได้ มีหัวเชื่อมต่อเป็นแบบ RJ-45 มีลักษณะคล้ายปลั๊กโทรศัพท์ สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีความยาวของสายระหว่างสถานีงานกับ Hub ไม่เกิน 100 เมตร

    IEEE 802.3u 100BaseX (Fast Ethernet) = มีระบบการเชื่อมต่อแบบดาว สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาทีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. 100BaseT4 ใช้สายคู่พันเกลียวจำนวน 4 คู่2. 100BaseTX ใช้สายคู่พันเกลียวจำนวน 2 คู่3. 100BaseFX ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง

    IEEE 802.4: Token Bus = ได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายแบบบัสที่ตอบสนองความต้องการ คือไม่ต้องการให้มีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเลย โดยจะทำงานด้วยการส่งแพ็กเกตข้อมูลที่เรียกว่าโทเคน (Token) วนเป็นวงแหวนไปตามสถานีงานต่างๆ บนเครือข่าย เมื่อโทเคนไปถึงสถานีงานปลายทางก็จะมีการคัดลอกข้อมูลขึ้นมา จากนั้นก็จะส่ง ข้อมูลแจ้งกลับไปยังสถานีงานต้นทางว่าได้รับแล้วผ่านทางโทเคนเดิม ระบบเครือข่ายจะต้องสร้างตารางของตำแหน่งที่อยู่สำหรับสถานีงานทั้งหมดขึ้น ซึงจะเรียงตามลำดับตามลำดับของสถานีงานที่สามารถรับโทเคนไปได้ ในกรณีที่มีสถานีงานใดต้องการติดต่อกับระบบเครือข่ายสูงเป็นพิเศษ นั่นก็คือต้องการได้รับโทเคนถี่ขึ้นเป็นพิเศษ ก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ตำแหน่งที่อยู่ของสถานีนั้นๆ ไว้ในตารางให้มากขึ้น รูปที่ 5 เส้นทางการเดินทางของโทเคนบนระบบเครือข่าย Token Bus ข้อด้อยของโทเคนบัสคือความจำกัดในแง่ของระยะทาง และข้อจำกัดในเรื่องจำนวนของสถานีงานใหม่ที่จะสามารถเพิ่มลงไปในบัส ทั้งนี้เพราะทุกๆ สถานีงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงความเพี้ยนของสัญญาณโดยรวมที่จะเกิดมากขึ้น

    IEEE 802.5: Token Ring = มาตรฐานนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้โทโปโลยีรูปวงแหวน โดยใช้โทเคนเป็นตัวนำข้อมูลจากสถานีงานหนึ่งไปยังอีกสถานีงานหนึ่ง เมื่อสถานีปลายทางได้รับโทเคน และทำการคัดลอกข้อมูล เสร็จแล้ว ก็จะทำการส่งโทเคนกลับไปยังสถานีต้นทางเดิมซึ่งจะต้องทำการถอดเอาข้อมูลออก และจึงปล่อยโทเคนไปให้สถานีงานถัดไป สถานีงานแต่ละเครื่องที่ได้รับโทเคนไปจะทำการตรวจสอบดูว่าตำแหน่งที่อยู่ที่กำหนดในโทเคนนั้น เป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าเป็นของตนก็จะทำการคัดลอกข้อมูลไว้จากนั้นจะทำการทวนสัญญาณให้แรงขึ้นพร้อมกับส่ง โทเคนนั้นกลับไป แต่ถ้าตำแหน่งที่อยู่ไม่ใช้ตำแหน่งของตน ก็จะทำการทวนสัญญาณให้แรงขึ้นและปล่อยโทเคนนั้นผ่านไป ลักษณะเด่นของ Token Ring เมื่อเทียบกับ Token Bus ก็คือความสามารถที่รองรับระยะทางได้ไกลมากกว่า โดยไม่เกิดการสูญเสียของสัญญาณระหว่างทาง ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละสถานีงานมีการทวนสัญญาณซ้ำนั้นเอง ส่วนข้อด้อยที่สำคัญคือถ้าหากมีสถานีงานใดเสียหายหรือทำงานผิดปกติ ก็อาจส่งผลร้ายแรงให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ นอกจากนี้ในการติดตั้งระบบสายสัญญาณของระบบนี้ ยังมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองมากกว่าแบบ Token Busรูปที่ 6 ลักษณะการเชื่อมต่อโดยใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนของระบบเครือข่าย Token

    IEEE 802.9: Isochronous Networks = เป็นการรวมเทคโนโลยี ISDN (Integrated Services Digital Network) กับเทคโนโลยี LAN เข้าด้วยกัน Isochronous LAN อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ISLAN (Integrated Services LAN) โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำให้ระบบเครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลประเภทมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลที่ประกอบด้วยสัญญาณเสียง สัญญาณภาพ จำเป็นต้องได้รับการจัดส่งอย่างราบรื่นในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น สัญญาณภาพจะต้องได้รับการจัดส่งไปด้วยจำนวนเฟรมที่แน่นอนในเวลา 1 วินาที ถ้าหากการจัดส่งสัญญาณถูกขัดขวาง ข้อมูลก็จะถูกบิดเบือนไปทำให้ไม่สามารถเห็นเป็นภาพได้ ส่วนสัญญาณเสียงก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ทั้งสัญญาณภาพ (Video) และสัญญาณเสียง (Audio) จะต้องขึ้นกับช่วงเวลา และระบบเครือข่ายที่สนับสนุนความต้องการนี้ก็คือ Isochronous Networks นั่นเอง

    IEEE 802.11: Wireless Network = เป็นการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายไร้สายที่เทียบได้กับระบบเครือข่าย Ethernet แต่จะใช้เทคนิคในการเข้าถึงระบบเครือข่ายด้วยวิธี CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access with Collision Avoidance) ซึ่งวิธีการนี้ต่างจากวิธี CSMA/CD คือ ด้วยวิธี CSMA/CD ที่โหนดต่างๆ จะต้องมีการเฝ้าฟังสื่อกลาง ในการนำสัญญาณ และจะทำการส่งได้ก็ต่อเมื่อสายสัญญาณว่าง แต่สำหรับ CSMA/CA นั้นโหนดต่างๆ จะต้องส่ง ข่าวสารสั้นๆ ที่เรียกว่า RTS (Request To Send) ซึ่งจะระบุผู้รับเป้าหมายไว้ ขณะเดียวกันก็จะเตือนโหนดทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงให้หยุดรอชั่วขณะหนึ่ง ส่วนทางผู้รับจะส่งสัญญาณ CTS (Clear To Send) กลับไปยังโหนดที่ต้องการส่งข้อมูล เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นจึงจะมีการส่งข้อมูลจริง เมื่อผู้รับได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว ก็จะส่งสัญญาณตอบรับ ACK (Acknowledge) กลับไป เป็นอันจบกระบวนการสื่อสาร สื่อที่ใช้ในการส่งสัญญาณของระบบนี้มีสองประเภทคือ ผ่านทางคลื่นแสงอินฟราเรด ซึ่งจะใช้ได้ภายในระยะทาง 33 เมตร (100 ฟุต) และผ่านทางคลื่นวิทยุ ซึ่งจะออกอากาศในย่านความถี่ 2.4 GHz ระบบ Wireless LAN นี้จะมีประโยชน์ในสถานการซึ่ง โหนดต่างๆ ต้องการอิสระในการเคลื่อนย้าย เช่นในโรงพยาบาล หรือในห้องรับรองขนาดใหญ่ เป็นต้น

    ข้อดี - ข้อเสีย


    TOPOLOGY
    1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
    ข้อดี- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
    ข้อเสีย- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

    2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
    ข้อดี- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
    - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
    ข้อเสีย- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
    - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

    3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
    ข้อดี- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
    ข้อเสีย- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

    4.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

    วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    ประวัติส่วนตัว

    ชื่อนางสาวประภาภรณ์ ศรวิชัย
    ชื่อเล่น หน่อง
    รหัสนักศึกษา 5012252227
    เกิด 21 กรกฎาคม 2531
    ที่อยู่ 192 ม. 7 ต. ตองปิด อ. น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ 33130
    Tel. 0844791143

    URL-
    http://prapapron2131.blogspot.com/

    เพื่อนสนิท
    นางสาววิภาวดี โกกะพันธ์
    ชื่อเล่น วิ
    รหัสนักศึกษา 5012252231

    URL-
    http://vipavadee.blogspot.com/

    นายทวีศักดิ์ พลูแก้ว
    ชื่อเล่น ซีโตส
    รหัสนักศึกษา 5012252204
    เกิด 24 พฤษภาคม 2532

    URL-
    http://aum-taweesakphoolkaew.blogspot.com