วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำถาม

คำถาม

1.การแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็น กี่ ประเภทใหญ่ๆ
ก.2 ประเภท
ข.3 ประเภท
ค.4 ประเภท
ง.5 ประเภท
เฉลย ก 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภท interior routing protocol และ exterior routing protocol Routing Algorithm ของเว็บhttp://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/c4_2.html

2.ในการใช้งาน Interior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดใด
ก.เครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่
ข.เครือข่ายขนาดกลางที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่
ค.เครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย คInterior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดใดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อของเว็บ http://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/c4_2.html

3.เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายใดต่อไปนี้
ก.เครือข่าย LAN ข.เครือข่าย WAN
ค. เครือข่าย MAN ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน

4.สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์คือ
ก.บริดจ์มีการทำงานที่ต่ำกว่าคือในระดับชั้นที่3 ของ โมเดล OSI
ข.เราเตอร์มีการทำงานที่ต่ำกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI
ค.บริดจ์มีการทำงานที่สูงกว่าคือในระดับชั้นที่3 ของ โมเดล OSI
ง.เราเตอร์มีการทำงานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI
เฉลย ง สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์คือ เราเตอร์มีการทำงานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI นั่นคือคือ Network Layer โดยจะใช้ logical address หรือ Network Layer address ซึ่งเป็นที่อยู่ซึ่งตั้งโดยซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระดับ Network Layer รู้จักแหล่งที่มา ย่อหน้าที่3 บรรทัดที่ 1-2-3 จากเว็บ http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan8.htm

5.หน้าที่หลักของเราเตอร์คือข้อใดต่อไปนี้
ก.การหาเส้นทางในการรับข้อมูล
ข.การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น
ค.การหาเส้นทางในการรับส่งข้อมูล
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ข การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น โดยในแต่ละเครือข่ายจะมีรูปแบบของ packet ที่แตกต่างกันตามโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบน (ตั้งแต่เลเยอร์ที่ 3 ขึ้นไป) เช่น IP, IPX หรือ AppleTalkแหล่งที่มา ย่อหน้าที่4 บรรทัดที่ 1 จากเว็บhttp://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan8.htm

6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อดีของการใช้เราเตอร์
ก.การเลือกเส้นทางในการที่จะส่งข้อมูล สามารถใช้เราเตอร์ช่วยในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
ข.มีความคล่องตัวในการทำงานสูง เนื่องจากสามารถทำงานร่วมกับโทโพโลยีได้ทุกชนิด
ค.การปิดกั้นเครือข่าย หรือแยกเครือข่ายออกจากเครือข่ายที่ไม่ต้องการจะติดต่อด้วย ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยวิธีหนึ่ง
ง.เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จัก
เฉลย ง. เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา บรรทัดที่1 หัวข้อข้อดีของการใช้เราเตอร์

8.htm7.ฮับสวิตซ์เราเตอร์ และจุดเข้าใช้งาน ทั้งหมดนี้ใช้เพื่ออะไร
ก.เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย
ข.เชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย
ค.เชื่อมต่อสัญญาณต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย
เฉลย ก. ฮับสวิตซ์เราเตอร์ และจุดเข้าใช้งาน เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกันบนเครือข่าย อย่างไรก็ดีอุปกรณ์แต่ละอย่างมีความแตกต่างกันในด้านความสามารถแหล่งที่มา บรรทัดที่ 4 จากเว็บhttp://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/b931c4ca-5f26-4924-91a7-29a269680e891054.mspx

9. ระหว่างเครือข่ายในบ้านกับอินเทอร์เน็ตมีทั้หมดกี่แบบ
ก.4 ข.3 ค.2 ง.1
เฉลย ค 2 แบบคือแบบมีสายและ แบบไร้สายแหล่งที่มา บรรทัดที่ 2 ของหัวข้อเราเตอร์ จากเว็บhttp://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/b931c4ca-5f26-4924-91a7-29a269680e891054.mspx

10.ข้อใดคือคุณลักษณะพิเศษของเราเตอร์
ก.มีการรับข้อมูลแบบไร้สาย
ข.มีการรับส่งข้อมูลโดยใช้ตัวแปลกลาง
ค.มีระบบการส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูงสุด
ง.มีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัวเอง
เฉลย ง.มีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัว เช่น ไฟร์วอลล์ เราเตอร์จะมีราคาแพงกว่าฮับและสวิตซ์แหล่งที่มา บรรทัดสุดท้ายของหัวข้อ เราเตอร์ จากเว็บhttp://windowshelp.microsoft.com/Windows/th-TH/help/b931c4ca-5f26-4924-91a7-29a269680e891054.mspx

11.จุดเข้าใช้งาน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก.สถานีกาน ข.สถานีฐาน
ค.สถานเครือข่าย ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ข.จุดเข้าใช้งาน (หรือที่เรียกว่า สถานีฐาน)แหล่งที่มา บรรทัดที่1ของหัวข้อ จุดเข้าใช้งาน

12.การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่าอะไร
ก. LAN Router ข.M AN Router
ค. WAN Router ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ข. การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่า WAN Routerแหล่งที่มา บรรทัดที่3 ย่อหน้าที่3 ของหัวข้อ การทำงานของเราเตอร์จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


13.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยการติดตั้ง Router บน WAN
ก.รูปลักษณะของการเชื่อมต่อ (Topology)
ข. ขนาดและจำนวนของเครือข่าย
ค. รูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ง.ไม่มีข้อถูก เพราะทั้งหมดนี้คือปัจจัยในการพิจารณาในการติดตั้ง Router บน WANแหล่งที่มา ย่อหน้าที่ 1 หัวข้อ การติดตั้ง Router บน WANจากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm

14. Router ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลนและเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายด้วยสายสัญญาณของระบบแลน เราเรียกว่า
ก. Internal Router
ข. Local Router
ค. Internet Router
ง.ถูกทั้ง ก และ ข
เฉลย ง.ถูกทั้ง ก และ ข หรือ Router ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลนและเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายด้วยสายสัญญาณของระบบแลน เราเรียกว่า Local Router หรือบางครั้งจะถูกเรียกว่า Internal Routerแหล่งที่มา บรรทัดที่ 3-4 ย่อหน้าที่ 3ของหัวข้อ การทำงานของเราเตอร์จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


15.กฎกติกาขั้นพื้นฐานของ การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN ได้แก่ กฎกติกาการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ
ก.แบบ 60/40 ข.แบบ 70/30 ค.แบบ 80/20 % ง.แบบ 90/10
เฉลย กฎกติกาขั้นพื้นฐานของ การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN ได้แก่ กฎกติกาการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ 80/20 % ซึ่งในที่นี้ หมายความว่า 80% ของข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อสารกัน จะต้องเกิดขึ้นภายในเครือข่าย เดียวกัน จะต้องไม่ข้ามออกไปทาง Router มิเช่นนั้น เครือข่ายจะทำงานช้าอย่างเห็นได้ชัด ส่วน 20% หมายถึง ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่จะข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายแหล่งที่มา บรรทัดที่ 1-5 ของย่อหน้าที่ 1 หัวข้อการจัดวางตำแหน่งของเราเตอร์http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


16.ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน จะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer ใดเพื่อติดตั้ง Router
ก.1 ข.2 ค.3 ง.4
เฉลย ค.3 ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน จะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer 3 หรือ พิจารณาเพื่อติดตั้ง Router ในรูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั่นคือการติดตั้งการ์ดแลนหลายชุดบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์


17.ข้อใดคือปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้ Local Router
ก.อัตราความเร็วที่ต้องการ
ข.ประเภทของสื่อสัญญาณ (สายสัญญาณ) ที่ใช้
ค.ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย เลือกใช้ Local Router ในรูปแบบใด ให้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้- ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่าย (แม้จะอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือใกล้กันก็ตาม)- อัตราความเร็วที่ต้องการ-ประเภทของสื่อสัญญาณ (สายสัญญาณ) ที่ใช้-โปรโตคอลการสื่อสารระหว่างเครือข่าย โปรโตคอลของแลนที่นำมาเชื่อมต่อระหว่างกัน- ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย- ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างเครือข่าย- รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) ของเครือข่าย-โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) ที่จะนำมาใช้แหล่งที่มา หัวข้อความแตกต่างระหว่างการเชื่อมเครือข่าย จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


18.ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย มีไม่เกินกี่เมตรท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP
ก.100 เมตร ข.200 เมตร ค.300 เมตร ง.400 เมตร
เฉลย หากระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย มีไม่เกิน 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTPแหล่งที่มา บรรทัดที่ 1 หัวข้อระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายจากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


19.ในกรณีที่ท่านต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ท่านควรพิจารณาเลือกใช้ layerใด
ก. Layer 1 Switching Hub
ข. Layer 2 Switching Hub
ค. Layer 3 Switching Hub
ง. Layer 4 Switching Hub
เฉลย ค. Layer 3 Switching Hubเนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็วแหล่งที่มา บรรทัดสุดท้ายของ ย่อหน้าที่ 2 หัวข้ออัตราความเร็วที่ต้องการ จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


20.การใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์จะทำให้เกิดข้อจำกัดในรูปแบบการเชื่อมต่อ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก.จุด (Point To Point)
ข.ระหว่างเครือข่ายกับ Router
ค.ระหว่าง Router
ง.ระหว่างเครือข่ายกับจุด
เฉลย ง.ระหว่างเครือข่ายกับจุด ที่ผิดเพราะเป็น รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างจุด (Point To Point) ระหว่างเครือข่ายกับ Router และ ระหว่าง Routerแหล่งที่มา บรรทัดที่2 ย่อหน้าที่ 1 หัวข้อรูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่าย จากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm


20.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยการติดตั้ง Router บน WAN
ก.รูปลักษณะของการเชื่อมต่อ (Topology)
ข. ขนาดและจำนวนของเครือข่าย
ค. รูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ง.ไม่มีข้อถูก เพราะทั้งหมดนี้คือปัจจัยในการพิจารณาในการติดตั้ง Router บน WANแหล่งที่มา ย่อหน้าที่ 1 หัวข้อ การติดตั้ง Router บน WANจากเว็บhttp://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm

ข้อสอบ

ข้อสอบ
1 การส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบใด
ก. Fast Ethernet ข. Gigabit Ethernet
ค. Ethernet ง. Hub
เฉลย ข้อ ก. Fast Ethernet

2 LAN แบ่งลักษณะการทำงานได้เป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท
ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 4 ประเภท
เฉลย ข. 2 ประเภท

3 นักศึกษาคิดว่า สถานศึกษาควรใช้ระบบเครือข่ายแบบใด
ก. FDDI ข. CDDI
ค. ATM ง. Ethernet
เฉลย ข้อ ง. Ethernet

4 ปัจจุบันระบบเครือข่ายที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากที่สุดคือ
ก. Fast Ethernet
ข. Gigabit Ethernet
ค. Hub
เฉลย ข้อ ข. Gigabit Ethernet

5 ระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีวงแหวน คือข้อใด
ก. IEEE 802.3
ข. IEEE 802.4
ค. IEEE 802.2
ง. IEEE 802.5
เฉลย ข้อ ง. IEEE 802.5

6 Token-Ring (IEEE 802.5) ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่มีชื่อว่าอะไร
ก. IBM ข. ISO ค. Hub ง. IEEE
เฉลย ข้อ ก. IBM

7 Hub หรือ Switch เหมื่อนกันอย่างไร
ก. มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเหมื่อนกัน
ข. Hub หรือ Switch ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ค. มีจำนวนช่องเสียบสาย UTP เท่า
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
เฉลย ข้อ ข. Hub หรือ Switch

ROUTER


ระบบสื่อสารข้อมูล
เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไป เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Router ในการเชื่อมต่อ LAN หลายแบบเข้าด้วยกันผ่าน WAN ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น node หนึ่งใน LAN นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานอื่นๆได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย การทำงานของ Routerสิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล station address ในการทำงานส่งข้อมูลไปยังที่ใดๆ ซึ่งหมายเลข station address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกัน ถ้ามีการเปลี่ยน NIC นี้ไป ก็จำทำให้ station address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Network Layer address ในกการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IPX, TCP/IP หรือ AppleTalk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer การกำหนด Network address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อยๆหน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลาย

Router
Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเครื่อง Node หนึ่งใน Lan ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปของ Packet ที่ ต่างออกไป เพื่อให้ผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Routerr ในการเชื่อมต่อ Lan หลายแบบเข้า ด้วยกันผ่าน Wan ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น Node หนึ่งใน Lan นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานแบบอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อ หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหนควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัย

การทำงานของ Router
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge คือ ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล Station Address ในการทำงานส่งข้อมูล ไปยังที่ใด ๆ ซึ่งหมายเลข Station Address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC)) และถูกกำหนดมาเฉพาะ ตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลง NIC นี้ก็จะทำให้ Station Address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Router ทำงานที่ระดับสูงกว่าคือ Network Layer หรือชั้นที่ 3 ของ OSI โมเดลโดยใช้ Logical Address หรือ Network Layer Address ซึ่งคือ Address ที่ตั้งด้วยซอฟแวร์ ตามที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะ ตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระบบ Network Layer รู้จัก ในการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IP,TCP/IP หรือ Apple Talk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer นี้เช่นกัน การกำหนด Network Address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง ได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อย ๆ
หน้าที่หลักของ Router คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายที่ใช้สัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไ่ม่ว่าจะเป็น Ethernet , Token Ring หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี Packet เป็นรูปแบบของตนเอง ซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IPX,TCP/IP หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น Packet นี้เพื่อทจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งทำได้เพราะ Router ทำงานใน Network Layer ซึ่งเป็นระดับสูงที่พอจะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงไป Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง
รู้จักกับ ADSL Router
ADSL Router คืออุปกรณ์เชื่อมต่อ ADSL มีคุณสมบัติในการแชร์อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เราเตอร์มาพร้อมกับพอร์ต RJ45 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายเช่น HUB หรือ SWITCH หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือที่เรียกว่าสายแลน
เราเตอร์ Billion รุ่น Bipac 711c มีพอร์ต LAN และพอร์ต USB ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้กับเครือข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ผ่านทางพอร์ต USB ก็ได้

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Ethernet

Ethernet

IEEE 802.3: Ethernet = Ethernet นับเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยี LAN เนื่องจาก LAN ส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดในปัจจุบันใช้ พื้นฐานของเทคโนโลยีนี้ คุณลักษณะเฉพาะในการทำงานของ Ethernet คือการทำงานแบบที่เรียกว่า การเข้าใช้ระบบเครือข่ายโดยวิธีช่วงชิง หรือ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) โดยมีหลักการทำงานดังนี้ก่อนที่สถานีงานของผู้ใช้จะส่งข้อมูลออกไปยังเครือข่าย จะต้องมีการแจ้งออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบดูว่ามีสัญญาณพาหะของผู้ใช้รายอื่นอยู่ในสายหรือไม่ เมื่อไม่พบสัญญาณของผู้ใช้อื่น จึงจะเริ่มส่งข้อมูลออกไปได้ หากตรวจพบสัญญาณพาหะของผู้ใช้รายอื่นอยู่ จะต้องรอจนกว่าสายจะว่างถึงจะส่งข้อมูลได้ ในกรณีที่เกิดปัญหาในการตรวจสอบสัญญาณพาหะ ซึ่งอาจเนื่องมาจากระยะทางของสถานีงานอยู่ห่างกันมาก อาจจะเกิดการชนกันของข้อมูลขึ้นได้ ในกรณีนี้ให้ทั้งทุกๆ สถานีหยุดการส่งข้อมูลขณะนั้น แต่ละสถานีจะทำการสุ่มช่วงระยะเวลาในการรอ เพื่อทำการส่งข้อมูลออกไปใหม่เพื่อไม่ให้มีการชนกันเกิดขึ้นอีก หากยังมีเหตุการณ์ชนกันเกิดขึ้นอีก ก็จะต้องหยุดรอโดยเพิ่มช่วงระยะเวลาในการสุ่มเป็นสองเท่าเพื่อให้ลดโอกาสการชนกันลงและส่งข้อมูลออกไปใหม่ และทำซ้ำเช่นนี้ จนกว่าข้อมูลจะถูกส่งออกไปได้อย่างสมบูรณ์แม้ว่าระบบ CSMA/CD ดูเหมือนจะเป็นวิธีจัดระเบียบการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายที่ไม่เรียบร้อยนัก แต่ก็ทำงานได้ผลเป็นอย่างดี แต่เมื่อมีจำนวนโหนดบนเครือข่ายมากขึ้น ก็จะทำให้ความน่าจะเป็นในการปะทะกันของ ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เครือข่ายทำงานช้าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระบบเครือข่าย Ethernet ยังสามารถแบ่งประเภทได้อีก ตามความเร็วและชนิดของสายเคเบิล ดังนี้

IEEE 802.3 10Base5 (Thick Ethernet) = เป็นระบบเครือข่ายแบบบัส ใช้สายโคแอ็กเชียลอย่างหนา (3/8 นิ้ว) สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 500 เมตร และเนื่องจากสายโคแอ็กเชียลอย่างหนาสามารถนำสัญญาณไปได้ไกลกว่าจึงมักถูกใช้เป็นแบคโบน (Backbone) ของระบบเครือข่าย

IEEE 802.3 10Base2 (Thin Ethernet) = เป็นระบบเครือข่ายแบบบัส ใช้สายโคแอ็กเชียลอย่างบาง (3/16 นิ้ว) สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าแบบแรกและราคาต่ำกว่า สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 200 เมตร

IEEE 802.3 10BaseT (Twisted-pair Ethernet) = เป็นระบบที่จัดการเชื่อมต่อโหนดต่างๆ เข้ากับ Hub เป็นรูปแบบดาว ใช้สายคู่พันเกลียวโดยอาจเป็นแบบไม่มีสิ่งห่อหุ้ม(Unshielded Twisted-pair) หรือแบบมีสิ่งห่อหุ้ม (Shielded Twisted-pair)ก็ได้ มีหัวเชื่อมต่อเป็นแบบ RJ-45 มีลักษณะคล้ายปลั๊กโทรศัพท์ สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีความยาวของสายระหว่างสถานีงานกับ Hub ไม่เกิน 100 เมตร

IEEE 802.3u 100BaseX (Fast Ethernet) = มีระบบการเชื่อมต่อแบบดาว สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาทีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. 100BaseT4 ใช้สายคู่พันเกลียวจำนวน 4 คู่2. 100BaseTX ใช้สายคู่พันเกลียวจำนวน 2 คู่3. 100BaseFX ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง

IEEE 802.4: Token Bus = ได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายแบบบัสที่ตอบสนองความต้องการ คือไม่ต้องการให้มีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเลย โดยจะทำงานด้วยการส่งแพ็กเกตข้อมูลที่เรียกว่าโทเคน (Token) วนเป็นวงแหวนไปตามสถานีงานต่างๆ บนเครือข่าย เมื่อโทเคนไปถึงสถานีงานปลายทางก็จะมีการคัดลอกข้อมูลขึ้นมา จากนั้นก็จะส่ง ข้อมูลแจ้งกลับไปยังสถานีงานต้นทางว่าได้รับแล้วผ่านทางโทเคนเดิม ระบบเครือข่ายจะต้องสร้างตารางของตำแหน่งที่อยู่สำหรับสถานีงานทั้งหมดขึ้น ซึงจะเรียงตามลำดับตามลำดับของสถานีงานที่สามารถรับโทเคนไปได้ ในกรณีที่มีสถานีงานใดต้องการติดต่อกับระบบเครือข่ายสูงเป็นพิเศษ นั่นก็คือต้องการได้รับโทเคนถี่ขึ้นเป็นพิเศษ ก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ตำแหน่งที่อยู่ของสถานีนั้นๆ ไว้ในตารางให้มากขึ้น รูปที่ 5 เส้นทางการเดินทางของโทเคนบนระบบเครือข่าย Token Bus ข้อด้อยของโทเคนบัสคือความจำกัดในแง่ของระยะทาง และข้อจำกัดในเรื่องจำนวนของสถานีงานใหม่ที่จะสามารถเพิ่มลงไปในบัส ทั้งนี้เพราะทุกๆ สถานีงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงความเพี้ยนของสัญญาณโดยรวมที่จะเกิดมากขึ้น

IEEE 802.5: Token Ring = มาตรฐานนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้โทโปโลยีรูปวงแหวน โดยใช้โทเคนเป็นตัวนำข้อมูลจากสถานีงานหนึ่งไปยังอีกสถานีงานหนึ่ง เมื่อสถานีปลายทางได้รับโทเคน และทำการคัดลอกข้อมูล เสร็จแล้ว ก็จะทำการส่งโทเคนกลับไปยังสถานีต้นทางเดิมซึ่งจะต้องทำการถอดเอาข้อมูลออก และจึงปล่อยโทเคนไปให้สถานีงานถัดไป สถานีงานแต่ละเครื่องที่ได้รับโทเคนไปจะทำการตรวจสอบดูว่าตำแหน่งที่อยู่ที่กำหนดในโทเคนนั้น เป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าเป็นของตนก็จะทำการคัดลอกข้อมูลไว้จากนั้นจะทำการทวนสัญญาณให้แรงขึ้นพร้อมกับส่ง โทเคนนั้นกลับไป แต่ถ้าตำแหน่งที่อยู่ไม่ใช้ตำแหน่งของตน ก็จะทำการทวนสัญญาณให้แรงขึ้นและปล่อยโทเคนนั้นผ่านไป ลักษณะเด่นของ Token Ring เมื่อเทียบกับ Token Bus ก็คือความสามารถที่รองรับระยะทางได้ไกลมากกว่า โดยไม่เกิดการสูญเสียของสัญญาณระหว่างทาง ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละสถานีงานมีการทวนสัญญาณซ้ำนั้นเอง ส่วนข้อด้อยที่สำคัญคือถ้าหากมีสถานีงานใดเสียหายหรือทำงานผิดปกติ ก็อาจส่งผลร้ายแรงให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ นอกจากนี้ในการติดตั้งระบบสายสัญญาณของระบบนี้ ยังมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองมากกว่าแบบ Token Busรูปที่ 6 ลักษณะการเชื่อมต่อโดยใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนของระบบเครือข่าย Token

IEEE 802.9: Isochronous Networks = เป็นการรวมเทคโนโลยี ISDN (Integrated Services Digital Network) กับเทคโนโลยี LAN เข้าด้วยกัน Isochronous LAN อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ISLAN (Integrated Services LAN) โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำให้ระบบเครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลประเภทมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลที่ประกอบด้วยสัญญาณเสียง สัญญาณภาพ จำเป็นต้องได้รับการจัดส่งอย่างราบรื่นในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น สัญญาณภาพจะต้องได้รับการจัดส่งไปด้วยจำนวนเฟรมที่แน่นอนในเวลา 1 วินาที ถ้าหากการจัดส่งสัญญาณถูกขัดขวาง ข้อมูลก็จะถูกบิดเบือนไปทำให้ไม่สามารถเห็นเป็นภาพได้ ส่วนสัญญาณเสียงก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ทั้งสัญญาณภาพ (Video) และสัญญาณเสียง (Audio) จะต้องขึ้นกับช่วงเวลา และระบบเครือข่ายที่สนับสนุนความต้องการนี้ก็คือ Isochronous Networks นั่นเอง

IEEE 802.11: Wireless Network = เป็นการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายไร้สายที่เทียบได้กับระบบเครือข่าย Ethernet แต่จะใช้เทคนิคในการเข้าถึงระบบเครือข่ายด้วยวิธี CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access with Collision Avoidance) ซึ่งวิธีการนี้ต่างจากวิธี CSMA/CD คือ ด้วยวิธี CSMA/CD ที่โหนดต่างๆ จะต้องมีการเฝ้าฟังสื่อกลาง ในการนำสัญญาณ และจะทำการส่งได้ก็ต่อเมื่อสายสัญญาณว่าง แต่สำหรับ CSMA/CA นั้นโหนดต่างๆ จะต้องส่ง ข่าวสารสั้นๆ ที่เรียกว่า RTS (Request To Send) ซึ่งจะระบุผู้รับเป้าหมายไว้ ขณะเดียวกันก็จะเตือนโหนดทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงให้หยุดรอชั่วขณะหนึ่ง ส่วนทางผู้รับจะส่งสัญญาณ CTS (Clear To Send) กลับไปยังโหนดที่ต้องการส่งข้อมูล เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นจึงจะมีการส่งข้อมูลจริง เมื่อผู้รับได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว ก็จะส่งสัญญาณตอบรับ ACK (Acknowledge) กลับไป เป็นอันจบกระบวนการสื่อสาร สื่อที่ใช้ในการส่งสัญญาณของระบบนี้มีสองประเภทคือ ผ่านทางคลื่นแสงอินฟราเรด ซึ่งจะใช้ได้ภายในระยะทาง 33 เมตร (100 ฟุต) และผ่านทางคลื่นวิทยุ ซึ่งจะออกอากาศในย่านความถี่ 2.4 GHz ระบบ Wireless LAN นี้จะมีประโยชน์ในสถานการซึ่ง โหนดต่างๆ ต้องการอิสระในการเคลื่อนย้าย เช่นในโรงพยาบาล หรือในห้องรับรองขนาดใหญ่ เป็นต้น

ข้อดี - ข้อเสีย


TOPOLOGY
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

4.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาวประภาภรณ์ ศรวิชัย
ชื่อเล่น หน่อง
รหัสนักศึกษา 5012252227
เกิด 21 กรกฎาคม 2531
ที่อยู่ 192 ม. 7 ต. ตองปิด อ. น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ 33130
Tel. 0844791143

URL-
http://prapapron2131.blogspot.com/

เพื่อนสนิท
นางสาววิภาวดี โกกะพันธ์
ชื่อเล่น วิ
รหัสนักศึกษา 5012252231

URL-
http://vipavadee.blogspot.com/

นายทวีศักดิ์ พลูแก้ว
ชื่อเล่น ซีโตส
รหัสนักศึกษา 5012252204
เกิด 24 พฤษภาคม 2532

URL-
http://aum-taweesakphoolkaew.blogspot.com